แหล่งโบราณคดี


แสดง 281 ถึง 300 จาก 330 ผลลัพธ์

พระราชวังสราญรมย์

พระราชวังสราญรมย์ อยู่ตรงข้ามถนนสนามไชยกับพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างเพื่อใช้เป็นที่ประทับ อาคารออกแบบโดยเฮนรี อาลาบาศเตอร์ เคยใช้เป็นที่ประทับชั่วคราวของเจ้านายเมื่อแรกออกจากวังหลวง เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นบ้านพักรับรองพระราชอาคันตุกะ

อ่านเพิ่มเติม

กระทรวงพาณิชย์ (เดิม)

พื้นที่กระทรวงพาณิชย์เดิม ปัจจุบันคือสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มิวเซียมสยาม ตั้งอยู่ริมถนนสนามไชย บริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ เดิมเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งป้อมวไชยเชนทร์ในสมัยอยุธยา วังที่ประทับของเจ้านายสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 และกระทรวงเศรษฐการหรือกระทรวงพาณิชย์ในปัจจุบัน หลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดค้นพบ ล้วนแต่สื่อเรื่องราวและประวัติของสถานที่อย่างชัดเจน

อ่านเพิ่มเติม

โรงเรียนราชินี

โรงเรียนราชินี กรุงเทพฯ เป็นโรงเรียนหลวงสำหรับสตรีแห่งแรกของประเทศไทย พื้นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน ในอดีตเป็นที่ตั้งของป้องมหาฟกษ์ วังเหนือป้อมมหาฤกษ์ วังใต้ป้อมมหาฤกษ์ กระทรวงธรรมการ สุนันทาลัย

อ่านเพิ่มเติม

ป้อมพระสุเมรุ

ป้อมพระสุเมรุ ถ.พระอาทิตย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพฯ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2326 เป็นป้อมปราการของพระนครที่สำคัญป้อมหนึ่ง การขุดค้นทางโบราณคดี ทำให้ทราบภูมิปัญญาการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ 

อ่านเพิ่มเติม

วังมะลิวัลย์

วังมะลิวัลย์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ปัจจุบันเป็นที่ทำการของ FAO เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4 และมีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับขบวนการเสรีไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัวอาคารสร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างโดยนายเออโคล มันเฟรดี สถาปนิกชาวอิตาเลียน สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2460

อ่านเพิ่มเติม

ศาลเจ้าพ่อเสือ

ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร ตั้งอยู่ที่ถนนมหรรณพมาบรรจบกับถนนตะนาว เป็นศาลเจ้าจีนเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชาวจีนเรียกศาลเจ้านี้ว่า "ตั่วเหล่าเอี้ย" (เทพเจ้าใหญ่) โดยเป็นที่ประดิษฐานรูปเอี่ยนเถี้ยนส่งเต้ รูปเจ้าพ่อเสือ รูปเจ้าพ่อกวนอู และรูปเจ้าแม่ทับทิม ผู้ศรัทธามักมากราบไหว้ขอพรและแก้ปีชง

อ่านเพิ่มเติม

ป้อมมหากาฬ

ตั้งอยู่บริเวณริมคลองรอบกรุง ใกล้เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กรุงเทพฯ โดยมีแนวกำแพงเมืองต่อไปเป็นแนวตามถนนมหาไชย นับเป็น 1 ใน 14 ป้อม ทีี่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งสถาปนาพระนคร 

อ่านเพิ่มเติม

เสาชิงช้า

เสาชิงช้า เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ตั้งอยู่ข้างวัดสุทัศนเทพวรารามฯ และโบสถ์พราหมณ์ ในปัจจุบันเสาชิงช้ามักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม

โรงพิมพ์คุรุสภา

โรงพิมพ์คุรุสภา หรือ โรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช ตั้งอยู่ริมถนนพระสุเมรุ บางลำพู กรุงเทพฯ ปัจจุบันเป็น "พิพิธบางลำพู" ในอดีตเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญเนื่องจากตั้งอยู่ริมกำแพงพระนคร ข้างป้อมพระสุเมรุ ต่อมาเมื่อเป็นโรงพิมพ์ ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการผลิตเอกสารตำราการเรียนการสอนของกระทรวงธรรมการและคุรุสภา

อ่านเพิ่มเติม

สถานีรถไฟธนบุรี (เดิม)

สถานีรถไฟธนบุรี หรือสถานีรถไฟบางกอกน้อย (เดิม) ปัจจุบันตั้งอยู่ในโรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ เคยเป็นสถานีต้นทางแห่งแรกของรถไฟสายใต้ ตัวสถานีรถไฟได้รับการออกแบบโดย ม.จ.โวฒยากร วรวรรณ สร้างแล้วเสร็จ พ.ศ. 2493 แต่ก่อนหน้าเป็นสถานีรถไฟ พื้นที่นี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของวังหลังในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์

อ่านเพิ่มเติม

วัดพิชยญาติการาม

วัพิชยญาติการาม หรือวัดพิชัยญาติ เดิมเป็นวัดร้าง ก่อนที่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) จะสถาปนาวัดขึ้นใหม่ใน พ.ศ.2384 ทั้งวัด แล้วน้อมเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของตระกูลบุนนาค

อ่านเพิ่มเติม

ป้อมป้องปัจจามิตร

ป้อมป้องปัจจามิตร ปัจจุบันอยู่บริเวณบ้านพักข้าราชการกรมเจ้าท่า ใกล้กับสำนักงานเขตคลองสาน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นป้อมสำคัญที่ใช้ป้องกันข้าศึก ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันตกริมปากคลองสาน ตรงข้ามกับป้อมปิดปัจจนึกบริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษม

อ่านเพิ่มเติม

วังบางขุนพรหม

วังบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ปัจจุบันเป็นที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย เคยเป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ต้นราชสกุลบริพัตร และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระมารดา วังบางขุนพรหมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นวังของเจ้านายชั้นเจ้าฟ้าใหญ่โตและโอ่อ่ามากวังหนึ่ง

อ่านเพิ่มเติม

ศุลกสถาน

อาคารศุลกสถาน ตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 36 กรุงเทพฯ สร้างขึ้นตั้งแต่ราวปี 2529 สมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นอาคารสำคัญที่แสดงถึงประวัติการปฏิรูประบบเศรษฐกิจการค้าของไทย ซึ่งเป็นผลจากการทำสนธิสัญญาบาวริงสมัยรัชกาลที่ 4 ปัจจุบันอาคารศุลกสถานกำลังได้รับการปรับปรุงเป็นโรงแรมขนาดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม

พระธาตุตาดทอง

บ้านตาดทอง ต.ตาดทอง อ.เมืองยโสธร  มีตำนานการสร้างที่ผูกโยงกับตำนานอุรังคธาตุ และภายหลังก็ถูกผูกโยงเข้ากับนิทานพื้นบ้านเรื่อง ลูกฆ่าแม่ หรือ ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบล้านช้าง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24 สมัยอยุธยาตอนปลาย-ธนบุรี

อ่านเพิ่มเติม

กู่บ้านเขวา

ตั้งอยู่ ต.เขวา อ.เมืองมหาสารคาม กู่บ้านเขวาเป็นหนึ่งในศาสนสถานประจำสถานพยาบาล หรืออโรคยศาลา ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งราชอาณาจักรเขมร ในพุทธศตวรรษที่ 18 เนื่องในศรัทธาความเชื่อมตามหลักของศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน

อ่านเพิ่มเติม

วัดใหญ่จอมปราสาท

ต.ท่าจีน อ.เมืองสมุทรสาคร ตามประวัติกล่าวว่า วัดใหญ่จอมปราสาท สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ.2091-2111) ในอดีตบริเวณด้านหน้าวัดเป็นเมืองท่าตลาดริมน้ำ ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าชาวจีน จึงได้เรียกชุมชนบริเวณนี้ว่า “บ้านท่าจีน” 

อ่านเพิ่มเติม

บ้านตระกูลคีรีรัตน์

บ้านตระกูลคีรีรัตน์ตั้งอยู่ริม ถ.ตรัง-ประเหลียน ต.ทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง เป็นบ้านของนายกีวด หรือ พันวด ชาวจีนฮกเกี้ยนโพ้นทะเลที่มาตั้งรกรากและค้าขายอยู่ในจังหวัดตรัง สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2490 รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม ผสมผสานกับหลังคาเรือนไทยมุสลิม

อ่านเพิ่มเติม

วิหารคริสตจักรตรัง

วิหารคริสตจักรตรัง หรือวิหารทับเที่ยง ตั้งอยู่ในตัวเมืองตรัง สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2458 เป็นหลักฐานสำคัญแสดงถึงการเข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในจังหวัดตรัง สมัยรัชกาลที่ 5-6 โดยเป็นส่วนหนึ่งของคณะเพรสไบทีเรียนสยาม

อ่านเพิ่มเติม

วัดมงคลสถาน

ตั้งอยู่ ต.ละมอ อ.นาโยง จ.ตรัง วัดมงคลสถานสร้างขึ้นเมื่อปี 2449 ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ภายในวัดมีโบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถ ที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2480 ลักษณะทางอาคารแสดงถึงอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของท้องถิ่นภาคใต้

อ่านเพิ่มเติม