แหล่งโบราณคดี


แสดง 381 ถึง 400 จาก 420 ผลลัพธ์

ศุลกสถาน

อาคารศุลกสถาน ตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 36 กรุงเทพฯ สร้างขึ้นตั้งแต่ราวปี 2529 สมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นอาคารสำคัญที่แสดงถึงประวัติการปฏิรูประบบเศรษฐกิจการค้าของไทย ซึ่งเป็นผลจากการทำสนธิสัญญาบาวริงสมัยรัชกาลที่ 4 ปัจจุบันอาคารศุลกสถานกำลังได้รับการปรับปรุงเป็นโรงแรมขนาดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนเลื่อนฤทธิ์

พื้นที่ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ แต่เดิมเคยเป็นของคุณหญิงเลื่อน ผู้เป็นภรรยาของหลวงฤทธินายเวร ปัจจุบันภายในชุมชนเลื่อนฤทธิ์ ถนนเยาวราช ย่านสำเพ็ง กรุงเทพฯ  มีอาคารที่เป็นตึกแถวเก่าที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี 2555 ชาวชุมชนเลื่อนฤทธิ์ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นบริษัท ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ จำกัด เพื่อดำเนินการอนุรักษ์อาคารและพื้นที่ของชุมชน 

อ่านเพิ่มเติม

พระธาตุตาดทอง

บ้านตาดทอง ต.ตาดทอง อ.เมืองยโสธร  มีตำนานการสร้างที่ผูกโยงกับตำนานอุรังคธาตุ และภายหลังก็ถูกผูกโยงเข้ากับนิทานพื้นบ้านเรื่อง ลูกฆ่าแม่ หรือ ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบล้านช้าง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24 สมัยอยุธยาตอนปลาย-ธนบุรี

อ่านเพิ่มเติม

กู่บ้านหมี่

ตั้งอยู่บ้านหมี่พัฒนา ต.เขวา อ.เมืองมหาสารคาม ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีเป็นก้อนศิลาแลงกระจัดจายในพื้นที่ ชาวบ้านจึงได้รวบรวมมาเรียงก่อขึ้นเป็นกู่ และได้กลายเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่ สันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณนี้ในอดีตอาจเป็นศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมร ร่วมสมัยกับโบราณสถานใกล้เคียงคือปรางค์กู่บ้านเขวาและกู่น้อย

อ่านเพิ่มเติม

กู่บ้านเขวา

ตั้งอยู่ ต.เขวา อ.เมืองมหาสารคาม กู่บ้านเขวาเป็นหนึ่งในศาสนสถานประจำสถานพยาบาล หรืออโรคยศาลา ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งราชอาณาจักรเขมร ในพุทธศตวรรษที่ 18 เนื่องในศรัทธาความเชื่อมตามหลักของศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน

อ่านเพิ่มเติม

สิมวัดโพธิ์ศรีเชียงเหียน

ตั้งอยู่ที่บ้านเชียงเหียน ต.เขวา อ.เมืองมหาสารคาม ภายในเมืองโบราณบ้านเชียงเหียน สิมวัดโพธิ์ศรีเชียงเหียน เริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2467 ก่อสร้างเสร็จ พ.ศ.2476 มีความโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมท้องถิ่นผนวกกับเทคนิคการก่อสร้างที่แพร่หลายของช่างชาวเวียดนามในอีสาน ที่ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศส 

อ่านเพิ่มเติม

วัดใหญ่จอมปราสาท

ต.ท่าจีน อ.เมืองสมุทรสาคร ตามประวัติกล่าวว่า วัดใหญ่จอมปราสาท สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ.2091-2111) ในอดีตบริเวณด้านหน้าวัดเป็นเมืองท่าตลาดริมน้ำ ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าชาวจีน จึงได้เรียกชุมชนบริเวณนี้ว่า “บ้านท่าจีน” 

อ่านเพิ่มเติม

บ้านตระกูลคีรีรัตน์

บ้านตระกูลคีรีรัตน์ตั้งอยู่ริม ถ.ตรัง-ประเหลียน ต.ทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง เป็นบ้านของนายกีวด หรือ พันวด ชาวจีนฮกเกี้ยนโพ้นทะเลที่มาตั้งรกรากและค้าขายอยู่ในจังหวัดตรัง สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2490 รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม ผสมผสานกับหลังคาเรือนไทยมุสลิม

อ่านเพิ่มเติม

วิหารคริสตจักรตรัง

วิหารคริสตจักรตรัง หรือวิหารทับเที่ยง ตั้งอยู่ในตัวเมืองตรัง สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2458 เป็นหลักฐานสำคัญแสดงถึงการเข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในจังหวัดตรัง สมัยรัชกาลที่ 5-6 โดยเป็นส่วนหนึ่งของคณะเพรสไบทีเรียนสยาม

อ่านเพิ่มเติม

วัดมงคลสถาน

ตั้งอยู่ ต.ละมอ อ.นาโยง จ.ตรัง วัดมงคลสถานสร้างขึ้นเมื่อปี 2449 ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ภายในวัดมีโบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถ ที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2480 ลักษณะทางอาคารแสดงถึงอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของท้องถิ่นภาคใต้

อ่านเพิ่มเติม

วัดตรังคภูมิพุทธาวาส

ตั้งอยู่ในตัวอำเภอกันตัง จ.ตรัง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2436 โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เจ้าเมืองตรังในขณะนั้น สิ่งสำคัญได้แก่ อุโบสถที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ พระพุทธรูป พระสาวก และประติมากรรมรูปสัตว์ ที่ทำจากหินอ่อน เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม

วัดจอมไตร

ตั้งอยู่ ต.นาโยงเหนือ อ.นาโยง จ.ตรัง วัดจอมไตรสร้างราวปี 2393 สิ่งสำคัญภายในวัดคืออุโบสถ ที่สร้างด้วยสถานปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้  และ "พระพุทธจอมไตร" ที่ประดิษฐานในอุโบสถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ทำพิธีหล่อด้วยโลหะองค์แรกของจังหวัดตรัง) สร้างเมื่อปี 2488

อ่านเพิ่มเติม

วัดนิคมประทีป

ตั้งอยู่ ต.โคกหล่อ อ.เมืองตรัง วัดนิคมประทีป หรือ วัดโคกหล่อ สร้างขึ้นเมื่อปี 2423 โบราณสถานสำคัญคืออุโบสถที่แสดงสถาปัตกรรมพื้นถิ่น รวมถึงพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถ ที่สร้างขึ้นระหวห่างปี 2481-2490

อ่านเพิ่มเติม

วัดบางน้ำวน

ตั้งอยู่ ต.บางโทรัด อ.เมืองสมุทรสาคร ตั้งอยู่ริมคลองสุนัขหอนและคลองท่าแร้ง ประวัติวัดระบุว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.2357 โดยกล่าวว่าสร้างโดยชาวมอญที่อพยพมมาอยู่ในตำบลนี้ สิ่งสำคัญภายในวัดคือ อุโบสถ กำแพงแก้ว และกลุ่มเจดีย์แบบมอญ

อ่านเพิ่มเติม

วัดแหลมสุวรรณาราม

ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน บริเวณที่เป็นคุ้งน้ำกระเพาะหมู ใน ต.ท่าฉลอม อ.เมืองสมุทรสาคร ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2369 โบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถไม้ ผนังอุโบสถมีลักษณะพิเศษคือ บริเวณระหว่างช่องหน้าต่างด้านนอกอาคาร ประดับด้วยพระพุทรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย บนฐานบัวปูนปั้น ทาสีทองทั้งองค์

อ่านเพิ่มเติม

วัดทุ่งผักกูด

ตั้งอยู่บ้านทุ่งผักกูด ต.ห้วยด้วน อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ตั้งวัดเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 หรือรัชกาลที่ 5 สอดคล้องกับประวัติการตั้งถิ่นฐานของชุมชนชาวลาวครั่ง (ลาวคั่ง) ในพื้นที่อำเภอดอนตูม โบราณสถานและสถานที่สำคัญของวัดได้แก่ อุโบสถ เจดีย์ 5 องค์ ศาลาการเปรียญไม้ และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชาติพันธุ์ลาวคั่ง วัดทุ่งผักกูด 

อ่านเพิ่มเติม

วัดกะพังสุรินทร์

ต้้งอยู่ติดกับสระน้ำกะพังสุรินทร์ ต.ทับเที่ยง อ.เมืองตรัง อาคารโบราณสถานได้แก่ อุโบสถที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นภาคใต้ ภายในประดิษฐานพระประธานที่อัญเชิญมาจากพุทธคยา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ใช้วัดนี้เป็นที่ตั้งกองกำลังเพื่อต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม

อ่านเพิ่มเติม

สโมสรข้าราชการจังหวัดตรัง

ตั้งอยู่ ต.ทับเที่ยง อ.เมืองตรัง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลัง พ.ศ.2471 เพื่อเป็นอาคารของสโมสรข้าราชการ  เนื่องจากพบเอกสารแบบแปลนอาคาร Club House in Trang ลงวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ.1928 (พ.ศ.2471) ลักษณะอาคารสะท้อนให้เห็นรูปแบบที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 7 

อ่านเพิ่มเติม

จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง

ตั้งอยู่ในตัวจังหวัดตรัง บนเนินชื่อ “ควนคีรี” สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2461 หรือหลังจากนั้นไม่นาน เคยเป็นที่ประทับแรมของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งเสด็จประพาสจังหวัดตรัง พ.ศ.2502 ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นคอนกรีต ชั้นบนเป็นไม้ หลังคาทรงปั้นหยา เป็น 1 ใน 20 โบราณสถานสำคัญของจังหวัดที่นักท่องเที่ยวห้ามพลาด

อ่านเพิ่มเติม

วัดธารากร

ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส วัดธารากร เดิมมีชื่อว่า “วัดบางน้อย” ตามชื่อหมู่บ้าน สิ่งสำคัญภายในวัดคือ่ อุโบสถ ที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมของภาคกลางกับศิลปกรรมพื้นถิ่น และยังมีจิตรกรรมประดับอุโบสถที่งดงาม

อ่านเพิ่มเติม