ตั้งอยู่บ้านทุ่งผักกูด ต.ห้วยด้วน อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ตั้งวัดเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 หรือรัชกาลที่ 5 สอดคล้องกับประวัติการตั้งถิ่นฐานของชุมชนชาวลาวครั่ง (ลาวคั่ง) ในพื้นที่อำเภอดอนตูม โบราณสถานและสถานที่สำคัญของวัดได้แก่ อุโบสถ เจดีย์ 5 องค์ ศาลาการเปรียญไม้ และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชาติพันธุ์ลาวคั่ง วัดทุ่งผักกูด
ปราสาทหนองตาเปล่ง ต.ช่อผกา อ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์ มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศาสนสถานประจำที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลา 1 ใน 17 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณ โปรดให้สร้างขึ้น
ต.ราชกรูด อ.เมืองระนอง พบเครื่องมือหินกะเทาะยุคก่อนประวัติศาสตร์รูปลักษณะต่าง ๆ หลายชิ้น ที่บริเวณน้ำตกที่เป็นลานหินกรวด เช่น เครื่องมือหินกะเทาะทำจากหินกรวดรูปหลายเหลี่ยมเป็นเครื่องมือตัด-สับ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, เครื่องมือหินกะเทาะทำจากหินปูนรูปคล้ายสามเหลี่ยมหน้าจั่ว-แบนด้านประกอบมุมยอดโค้งออกทั้งสองด้าน รูปไข่-แบน รูปหลายเหลี่ยม ยาว-แบน
เทศบาลเมืองระนอง ต.เขานิเวศน์ อ.เมืองระนอง ศาลหลักเมืองระนองก่อสร้างขึ้นในพื้นที่ที่เคยเป็นบ้านพักของพระยารัตนเศรษฐี (เจ้าเมืองระนอง) มีพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2531 ตัวศาลมีลักษณะเป็นศาลาจตุรมุข รูปทรงไทย ยอดศาล 5 ยอด มีลักษณะตามแบบพระบรมธาตุไชยา หลักเมืองมีลักษณะเป็นเสากลมเรียว ปลายยอดเป็นดอกบัวตูม
สวนสาธารณะรักษะวาริน ตั้งอยู่ริมคลองหาดส้มแป้น ต.เขานิเวศน์ และ ต.หาดส้มแป้น อ.เมืองระนอง จ.ระนอง มีบ่อน้ำแร่ร้อนธรรมชาติ หรือบ่อน้ำพุร้อน 3 บ่อ ชาวบ้านเรียกว่า บ่อพ่อ บ่อแม่ และบ่อลูกสาว กรมศิลปากรได้เคยสำรวจบริเวณสวนสาธารณะพบเครื่องมือหินกะเทาะบนฝั่งด้านทิศใต้และในคลองหาดส้มแป้น
ต.บางพระ อ.เมืองตราด เจดีย์วัดชัยมงคลหรือวัดกลาง เป็นเจดีย์ร้าง ตั้งอยู่ที่ลานจอดรถของวัดกลาง ตามประวัติวัดกล่าวว่าวัดแห่งนี้ตั้งเมื่อปี 2325 เป็นเจดีย์ย่อมุม ซึ่งจากรูปแบบสถาปัตยกรรม สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ต.ปากกาง อ.ลอง จ.แพร่ สันนิษฐานว่าวัดพระธาตุไฮสร้อย มีอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี เป็นวัดหลวงกลางเวียงลอง ซึ่งเป็นเมืองโบราณทางตอนกลางของแอ่งลอง ตามตำนานระบุว่าวัดพระธาตุไฮสร้อยสร้างโดยพญาสุรมาลัยยะ (เจ้าสุรมาลัย) เจ้าเมืองลอง ที่ตั้งใจสร้างพระธาตุไฮสร้อยไว้เป็นพระมหาธาตุกลางเวียง และบรรจุพระธาตุส่วนสมองของพระพุทธเจ้า
ตั้งอยู่หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน ซึ่งเคยเป็นคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน (หอคำ) มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าสร้างโดยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 ราว
พ.ศ.2416 เนื่องจากข้อผิดพลาดเรื่องการทูลถวายรายงานจำนวนวัดต่อรัชกาลที่ 5
ตั้งอยู่ด้านหลังหมวดการทางปะทิว ริม ถ.เพชรเกษม ต.เขาไชยราช อ.ปะทิว จ.ชุมพร จากการสำรวจของกรมศิลปากร พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ คือเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เ สันนิษฐานว่าถ้ำแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ตั้งอยู่ภายในวัดถ้ำสนุกสขารมย์ ต.บ้านนา อ.เมืองชุมพร กรมศิลปากรสำรวจพบหลักฐานทางโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ภายในถ้ำสนุกสุขารมย์ คือเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เนื้อภาชนะหยาบมีเม็ดทรายปน สันนิษฐานว่าถ้ำแห่งนี้เป็นแหล่งที่พำนักอาศัยชั่วคราวของมนุษย์ก่อนประวัติสาสตร์
บ้านเขาปูน ต.บ้านนา อ.เมืองชุมพร วัดเขาปูน ตามประวัติระบุว่าวัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2224 สิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่ บ่อน้ำที่ชาวบ้านมีความเชื่อว่า น้ำในบ่อมีความศักดิ์สิทธิ์ รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้
เลขที่ 20 ม.2 ถ.สายหัวคู-ขุนประทิง ต.ตากแดด อ.เมืองชุมพร บริเวณที่ตั้งของศาลเสื้อเมืองนี้คือ “วัดเสื้อเมือง” ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ สภาพเดิมของศาลเสื้อเมืองเป็นศาลาไม้มุงสังกะสี ต่อมาบูรณะใหม่เป็นอาคารคอนกรีต ภายในศาลตั้งแท่นบูชามีแท่งหินทรายและหลักไม้เรียกว่า “พระทรงเมือง”
วัดพระขวาง ม.6 ต.ขุนกระทิง อ.เมืองชุมพร ตั้งอยู่ริมคลองชุมพร ในเขตเมืองเก่าของชุมพร หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญของวัดพระขวางคือ "พระขวาง" ศิลปะสมัยอยุธยา ซึ่งมีตำนานผูกพันอยู่กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง สภาพแหล่งโบราณคดีเป็นเพิงผาที่อยู่ด้านปลายทางทิศเหนือของเขาหญ้าระ พบเครื่องมือหินกะเทาะด้านเดียวแบบหัวบิเนียน และเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน กําหนดอายุได้ราว 10,000 – 6,000 ปี มาแล้ว อาจใช้เป็นจุดแวะพักระหว่างเดินทางของคนก่อนประวัติศาสตร์
ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง พบเครื่องมือหินและเศษภาชนะดินเผาที่แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาไม้แก้ว สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งถิ่นฐานชั่วคราวหรือเป็นที่พักชั่วคราวระหว่างเดินทางของมนุษย์ยุค่กอนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 4,000 – 2,000 ปีมาแล้ว และอาจถูกใช้เป็นจุดสังเกตในระหว่างการเดินทางด้วย
ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง สันนิษฐานว่าแหล่งโบราณคดีเขาหน้าเนื้อเป็นแหล่งที่พักชั่วคราวของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว 4,000-2,000 ปีมาแล้ว เพราะมีทำเลอยู่บริเวณช่องเขาสําหรับเดินทางระหว่างตอนในทวีปออกสู่ทะเล พบเครื่องมมือหิน เศษภาชนะดินเผาเคลือบน้ำดินสีแดงขัดมัน และเปลือกหอยกัน ที่น่าจะถูกนำมาเป็นอาหาร
ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติเจ้าไหม ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์บนเขาเจ้าไหม ได้แก่ ภาพเขียนสี เครื่องมื่อหินและเครื่องปั้นดินเผา สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในช่วง 4,000-2,000 ปีมาแล้ว
ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง แหล่งโบราณคดีอ่าวบุญคงพบหลักฐานทางโบราณคดี 2 ยุคสมัย คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ถูกใช้เป็นที่พักพิงชั่วคราวและมีการวาดภาพเขียนสี และยุคประวัติศาสตร์ช่วงพุทธศตวรรษที 16 – 19 ถูกใช้เป็นแหล่งฝังศพ
บริเวณเพิงผาเขียน เขาพนมดบ อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ พบร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ในอดีต 2 จุด คือ ภาพศิลปะถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งภาพเขียนสี และภาพสลัก
ต.เกาะตะเภา อ.บ้านตาก จ.ตาก เป็นโบราณสถานร้าง ในเมืองตากเก่า (บ้านตาก) ลักษณะที่ปรากฏปัจจุบันเป็นเจดีย์ 8 เหลี่ยม ด้านในกลวงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป แต่ปัจจุบันถูกขุดทำลายไปแล้ว สันนิษฐานว่าอยู่ในสมัยสุโขทัย-อยุธยา