แหล่งโบราณคดี


แสดง 141 ถึง 160 จาก 167 ผลลัพธ์

พระวิหาร วัดเทพธิดารามวรวิหาร

พระวิหารวัดเทพธิดารามวรวิหาร แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทยผสมกับจีนตามแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ภายในพระวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังเขียนเป็นลายหงส์จีนบนพื้นสีแดง พระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ที่เบื้องหน้าพระประธานประดิษฐานประติมากรรมรูปหมู่อริยสาวิกา 52 องค์

อ่านเพิ่มเติม

การเปรียญ วัดเทพธิดารามวรวิหาร

การเปรียญวัดเทพธิดาราม แขวงสำราญราษฎร์ กรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 3 อาคารหลักของวัด นอกเหนือจากพระอุโบสถและพระวิหาร ภายในการเปรียญ ที่ผนังด้านหลังทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หมู่ตู้พระธรรมมีอายุเก่าแก่ที่สุดมาจากสมัยรัตนโกสินธ์ตอนต้น

อ่านเพิ่มเติม

บ้านพิบูลธรรม

บ้านพิบูลธรรม หรือบ้านนนที ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่กระทรวงพลังงาน เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ยศเส กรุงเทพฯ เป้นบ้านของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี เริ่มสร้างขึ้นราวปี 2440 สถาปัตยกรรมของอาคารเป็นแบบตะวันตก โดดเด่นด้วยการตกแต่งภายในอาคารด้วยไม้แกะสลักประกอบภาพจิตรกรรมที่งดงามทั้งลวดลายแบบตะวันตกและภาพจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอนทศกัณฐ์ลักนางสีดา ภาพนางเมขลาและรามสูร

อ่านเพิ่มเติม

พระราชวังบวรสถานมงคล

พระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า เป็นพระราชวังที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่ 2 รองจากวังหลวง เป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสร้างขึ้นพร้อม ๆ กับพระบรมมหาราชวังใน พ.ศ. 2325

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนเลื่อนฤทธิ์

พื้นที่ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ แต่เดิมเคยเป็นของคุณหญิงเลื่อน ผู้เป็นภรรยาของหลวงฤทธินายเวร ปัจจุบันภายในชุมชนเลื่อนฤทธิ์ ถนนเยาวราช ย่านสำเพ็ง กรุงเทพฯ  มีอาคารที่เป็นตึกแถวเก่าที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี 2555 ชาวชุมชนเลื่อนฤทธิ์ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นบริษัท ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ จำกัด เพื่อดำเนินการอนุรักษ์อาคารและพื้นที่ของชุมชน 

อ่านเพิ่มเติม

ศุลกสถาน

อาคารศุลกสถาน ตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 36 กรุงเทพฯ สร้างขึ้นตั้งแต่ราวปี 2529 สมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นอาคารสำคัญที่แสดงถึงประวัติการปฏิรูประบบเศรษฐกิจการค้าของไทย ซึ่งเป็นผลจากการทำสนธิสัญญาบาวริงสมัยรัชกาลที่ 4 ปัจจุบันอาคารศุลกสถานกำลังได้รับการปรับปรุงเป็นโรงแรมขนาดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม

โรงพิมพ์คุรุสภา

โรงพิมพ์คุรุสภา หรือ โรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช ตั้งอยู่ริมถนนพระสุเมรุ บางลำพู กรุงเทพฯ ปัจจุบันเป็น "พิพิธบางลำพู" ในอดีตเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญเนื่องจากตั้งอยู่ริมกำแพงพระนคร ข้างป้อมพระสุเมรุ ต่อมาเมื่อเป็นโรงพิมพ์ ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการผลิตเอกสารตำราการเรียนการสอนของกระทรวงธรรมการและคุรุสภา

อ่านเพิ่มเติม

ป้อมป้องปัจจามิตร

ป้อมป้องปัจจามิตร ปัจจุบันอยู่บริเวณบ้านพักข้าราชการกรมเจ้าท่า ใกล้กับสำนักงานเขตคลองสาน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นป้อมสำคัญที่ใช้ป้องกันข้าศึก ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันตกริมปากคลองสาน ตรงข้ามกับป้อมปิดปัจจนึกบริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษม

อ่านเพิ่มเติม

ศาลเจ้าพ่อเสือ

ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร ตั้งอยู่ที่ถนนมหรรณพมาบรรจบกับถนนตะนาว เป็นศาลเจ้าจีนเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชาวจีนเรียกศาลเจ้านี้ว่า "ตั่วเหล่าเอี้ย" (เทพเจ้าใหญ่) โดยเป็นที่ประดิษฐานรูปเอี่ยนเถี้ยนส่งเต้ รูปเจ้าพ่อเสือ รูปเจ้าพ่อกวนอู และรูปเจ้าแม่ทับทิม ผู้ศรัทธามักมากราบไหว้ขอพรและแก้ปีชง

อ่านเพิ่มเติม

วัดพิชยญาติการาม

วัพิชยญาติการาม หรือวัดพิชัยญาติ เดิมเป็นวัดร้าง ก่อนที่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) จะสถาปนาวัดขึ้นใหม่ใน พ.ศ.2384 ทั้งวัด แล้วน้อมเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของตระกูลบุนนาค

อ่านเพิ่มเติม

วังมะลิวัลย์

วังมะลิวัลย์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ปัจจุบันเป็นที่ทำการของ FAO เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4 และมีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับขบวนการเสรีไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัวอาคารสร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างโดยนายเออโคล มันเฟรดี สถาปนิกชาวอิตาเลียน สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2460

อ่านเพิ่มเติม

ป้อมวิชัยประสิทธิ์

ป้อมวิชัยประสิทธิ์หรือป้อมวิไชยเยนทร์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางกอกใหญ่ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ เป็นป้อมปราการที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีประวัติความเป็นมาเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ปัจจุบันยังคงมีการใช้เป็นที่ยิงสลุตในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และมีการติดตั้งเสาธงบริเวณทางเข้าป้อมเพื่อชักธงราชนาวีและธงผู้บัญชาการทหารเรือไทย

อ่านเพิ่มเติม

เสาชิงช้า

เสาชิงช้า เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ตั้งอยู่ข้างวัดสุทัศนเทพวรารามฯ และโบสถ์พราหมณ์ ในปัจจุบันเสาชิงช้ามักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร

อ่านเพิ่มเติม

ป้อมมหากาฬ

ตั้งอยู่บริเวณริมคลองรอบกรุง ใกล้เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กรุงเทพฯ โดยมีแนวกำแพงเมืองต่อไปเป็นแนวตามถนนมหาไชย นับเป็น 1 ใน 14 ป้อม ทีี่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งสถาปนาพระนคร 

อ่านเพิ่มเติม

พระราชวังสราญรมย์

พระราชวังสราญรมย์ อยู่ตรงข้ามถนนสนามไชยกับพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างเพื่อใช้เป็นที่ประทับ อาคารออกแบบโดยเฮนรี อาลาบาศเตอร์ เคยใช้เป็นที่ประทับชั่วคราวของเจ้านายเมื่อแรกออกจากวังหลวง เป็นที่ทำการของกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นบ้านพักรับรองพระราชอาคันตุกะ

อ่านเพิ่มเติม

โรงเรียนราชินี

โรงเรียนราชินี กรุงเทพฯ เป็นโรงเรียนหลวงสำหรับสตรีแห่งแรกของประเทศไทย พื้นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน ในอดีตเป็นที่ตั้งของป้องมหาฟกษ์ วังเหนือป้อมมหาฤกษ์ วังใต้ป้อมมหาฤกษ์ กระทรวงธรรมการ สุนันทาลัย

อ่านเพิ่มเติม

พระธาตุตาดทอง

บ้านตาดทอง ต.ตาดทอง อ.เมืองยโสธร  มีตำนานการสร้างที่ผูกโยงกับตำนานอุรังคธาตุ และภายหลังก็ถูกผูกโยงเข้ากับนิทานพื้นบ้านเรื่อง ลูกฆ่าแม่ หรือ ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบล้านช้าง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24 สมัยอยุธยาตอนปลาย-ธนบุรี

อ่านเพิ่มเติม

กู่บ้านเขวา

ตั้งอยู่ ต.เขวา อ.เมืองมหาสารคาม กู่บ้านเขวาเป็นหนึ่งในศาสนสถานประจำสถานพยาบาล หรืออโรคยศาลา ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งราชอาณาจักรเขมร ในพุทธศตวรรษที่ 18 เนื่องในศรัทธาความเชื่อมตามหลักของศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน

อ่านเพิ่มเติม

วิหารคริสตจักรตรัง

วิหารคริสตจักรตรัง หรือวิหารทับเที่ยง ตั้งอยู่ในตัวเมืองตรัง สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2458 เป็นหลักฐานสำคัญแสดงถึงการเข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในจังหวัดตรัง สมัยรัชกาลที่ 5-6 โดยเป็นส่วนหนึ่งของคณะเพรสไบทีเรียนสยาม

อ่านเพิ่มเติม

บ้านตระกูลคีรีรัตน์

บ้านตระกูลคีรีรัตน์ตั้งอยู่ริม ถ.ตรัง-ประเหลียน ต.ทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง เป็นบ้านของนายกีวด หรือ พันวด ชาวจีนฮกเกี้ยนโพ้นทะเลที่มาตั้งรกรากและค้าขายอยู่ในจังหวัดตรัง สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2490 รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม ผสมผสานกับหลังคาเรือนไทยมุสลิม

อ่านเพิ่มเติม