ปราสาทหนองตาเปล่ง ต.ช่อผกา อ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์ มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศาสนสถานประจำที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลา 1 ใน 17 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณ โปรดให้สร้างขึ้น
ปราสาทหนองกง หรือปราสาทโคกปราสาท หรือปราสาทท้าวกง ต.หนองกง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศาสนสถานประจำที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลา 1 ใน 17 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณ โปรดให้สร้างขึ้น
ต.กระโทก อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือสมัยบาปวน โบราณสถานสำคัญคือปราสาท 2 หลัง และคูน้ำล้อมปราสาท
ต.พลับพลา อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ลักษณะเป็นเนินดิน มีร่องรอยให้เห็นว่าส่วนฐานปราสาท สร้างด้วยศิลาแลง องค์ปราสาทสร้างด้วยอิฐและหินทราย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 บริเวณรอบเนินโบราณสถานมีร่องรอยของสระน้ำล้อมรอบอยู่
ต.ราชกรูด อ.เมืองระนอง พบเครื่องมือหินกะเทาะยุคก่อนประวัติศาสตร์รูปลักษณะต่าง ๆ หลายชิ้น ที่บริเวณน้ำตกที่เป็นลานหินกรวด เช่น เครื่องมือหินกะเทาะทำจากหินกรวดรูปหลายเหลี่ยมเป็นเครื่องมือตัด-สับ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, เครื่องมือหินกะเทาะทำจากหินปูนรูปคล้ายสามเหลี่ยมหน้าจั่ว-แบนด้านประกอบมุมยอดโค้งออกทั้งสองด้าน รูปไข่-แบน รูปหลายเหลี่ยม ยาว-แบน
ต.เขานิเวศน์ อ.เมืองระนอง พระราชวังรัตนรังสรรค์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2433 โดยพระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) เจ้าเมืองระนองในขณะนั้น เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก เดิมตั้งอยู่บนเนินประวัติศาสตร์ แต่ได้รื้อออกไปเมื่อปี พ.ศ.2507 เพื่อก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัด หลังจากนั้นได้มีโครงการก่อสร้างพระราชขึ้นใหม่ (องค์จำลอง) เมื่อปี พ.ศ.2545 ในพื้นที่ฝั่งตรงข้ามฝั่งถนนลุวัง
ต.กะเปอร์ อ.กะเปอร์ จ.ระนอง สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2311 สมัยต้นกรุงธนบุรี แต่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดบางปรุ” ตามชื่อคลองบางปรุ สิ่งก่อสร้างที่สำคัญภายในวัด ได้แก่ อุโบสถและเจดีย์ สมัยรัตนโกสินทร์ ราวรัชกาลที่ 7
เทศบาลเมืองระนอง ต.เขานิเวศน์ อ.เมืองระนอง ศาลหลักเมืองระนองก่อสร้างขึ้นในพื้นที่ที่เคยเป็นบ้านพักของพระยารัตนเศรษฐี (เจ้าเมืองระนอง) มีพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2531 ตัวศาลมีลักษณะเป็นศาลาจตุรมุข รูปทรงไทย ยอดศาล 5 ยอด มีลักษณะตามแบบพระบรมธาตุไชยา หลักเมืองมีลักษณะเป็นเสากลมเรียว ปลายยอดเป็นดอกบัวตูม
ต.เขานิเวศน์ อ.เขานิเวศน์ จ.ระนอง วัดสุวรรณคีรีวิหาร (วัดหน้าเมือง) เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2433 โดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ชื่อว่าเป็น “วัดแห่งแรกของเมืองระนอง” เดิมตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ริมหาดส้มแป้นใกล้กับสนามกีฬาจังหวัดระนองปัจจุบัน ชื่อ “วัดสุวรรณคีรีทาราม”
สวนสาธารณะรักษะวาริน ตั้งอยู่ริมคลองหาดส้มแป้น ต.เขานิเวศน์ และ ต.หาดส้มแป้น อ.เมืองระนอง จ.ระนอง มีบ่อน้ำแร่ร้อนธรรมชาติ หรือบ่อน้ำพุร้อน 3 บ่อ ชาวบ้านเรียกว่า บ่อพ่อ บ่อแม่ และบ่อลูกสาว กรมศิลปากรได้เคยสำรวจบริเวณสวนสาธารณะพบเครื่องมือหินกะเทาะบนฝั่งด้านทิศใต้และในคลองหาดส้มแป้น
ต.บางพระ อ.เมืองตราด เจดีย์วัดชัยมงคลหรือวัดกลาง เป็นเจดีย์ร้าง ตั้งอยู่ที่ลานจอดรถของวัดกลาง ตามประวัติวัดกล่าวว่าวัดแห่งนี้ตั้งเมื่อปี 2325 เป็นเจดีย์ย่อมุม ซึ่งจากรูปแบบสถาปัตยกรรม สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ต.ปากกาง อ.ลอง จ.แพร่ สันนิษฐานว่าวัดพระธาตุไฮสร้อย มีอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี เป็นวัดหลวงกลางเวียงลอง ซึ่งเป็นเมืองโบราณทางตอนกลางของแอ่งลอง ตามตำนานระบุว่าวัดพระธาตุไฮสร้อยสร้างโดยพญาสุรมาลัยยะ (เจ้าสุรมาลัย) เจ้าเมืองลอง ที่ตั้งใจสร้างพระธาตุไฮสร้อยไว้เป็นพระมหาธาตุกลางเวียง และบรรจุพระธาตุส่วนสมองของพระพุทธเจ้า
ตั้งอยู่หน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน ซึ่งเคยเป็นคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน (หอคำ) มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าสร้างโดยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ
เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 ราว
พ.ศ.2416 เนื่องจากข้อผิดพลาดเรื่องการทูลถวายรายงานจำนวนวัดต่อรัชกาลที่ 5
ตั้งอยู่ภายในวัดถ้ำสนุกสขารมย์ ต.บ้านนา อ.เมืองชุมพร กรมศิลปากรสำรวจพบหลักฐานทางโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ภายในถ้ำสนุกสุขารมย์ คือเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เนื้อภาชนะหยาบมีเม็ดทรายปน สันนิษฐานว่าถ้ำแห่งนี้เป็นแหล่งที่พำนักอาศัยชั่วคราวของมนุษย์ก่อนประวัติสาสตร์
บ้านเขาปูน ต.บ้านนา อ.เมืองชุมพร วัดเขาปูน ตามประวัติระบุว่าวัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2224 สิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่ บ่อน้ำที่ชาวบ้านมีความเชื่อว่า น้ำในบ่อมีความศักดิ์สิทธิ์ รักษาโรคภัยไข้เจ็บได้
วัดพระขวาง ม.6 ต.ขุนกระทิง อ.เมืองชุมพร ตั้งอยู่ริมคลองชุมพร ในเขตเมืองเก่าของชุมพร หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญของวัดพระขวางคือ "พระขวาง" ศิลปะสมัยอยุธยา ซึ่งมีตำนานผูกพันอยู่กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง แหล่งโบราณคดีอ่าวบุญคงพบหลักฐานทางโบราณคดี 2 ยุคสมัย คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ถูกใช้เป็นที่พักพิงชั่วคราวและมีการวาดภาพเขียนสี และยุคประวัติศาสตร์ช่วงพุทธศตวรรษที 16 – 19 ถูกใช้เป็นแหล่งฝังศพ
ต.เกาะตะเภา อ.บ้านตาก จ.ตาก เป็นโบราณสถานร้าง ในเมืองตากเก่า (บ้านตาก) ลักษณะที่ปรากฏปัจจุบันเป็นเจดีย์ 8 เหลี่ยม ด้านในกลวงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป แต่ปัจจุบันถูกขุดทำลายไปแล้ว สันนิษฐานว่าอยู่ในสมัยสุโขทัย-อยุธยา
ไม่ปรากฏชื่อวัดเจดีย์แดง (นอก) ในเอกสารตำนานและพงศาวดารใด ๆ แต่จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรม สันนิษฐานว่าเจดีย์องค์นี้น่าจะอยู่ในครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา
ต.แม่ใส อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา เป็นโบราณสถานประเภทวัดร้าง ใน "กลุ่มโบราณสถานบ้านร่องไฮ" ที่ในอดีตเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20-21 ปัจจุบันตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา