โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ถ.ราชมรรคา 5 ต.พระสิงห์ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
ถ.ถนนพระปกเกล้าซอย 2 ต.พระสิงห์ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
ถ.ราชวิถี ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าวัดหมื่นกองสร้างขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระยาติโลกราช พ.ศ.1985 เป็นวัดที่ขึ้นกับวัดอุโมงค์ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์วัดหมื่นกองเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบศิลปะแบบพม่า
ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ตามประวัติในเอกสารสันนิษฐานระบุว่าวัดนี้น่าจะเป็นวัดป่าแดงหลวง เป็นวัดเข้าสำนักพุทธศาสนานิกายป่าแดง ปรากฏหลักฐานในเอกสารทางประวัติศาสตร์ว่า พญาติโลกราช (พ.ศ.1985-2031) สร้างวัดป่าแดงหลวงขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิพระราชบิดา (พญาสามฝั่งแกน) และพระราชมารดา
ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่หลักฐานเก่าสุดคือจารึกฐานพระพุทธรูปทองสำริดที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารเป็นจารึกอักษรไทยยวน ภาษาไทยยวน กำหนดอายุอยู่ในช่วง พ.ศ.2039 ตรงกับสมัยพระเจ้ายอดเชียงรายครองเมืองเชียงใหม่
เมืองโบราณสำคัญของล้านนา ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เวียงกุมกามน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 แต่ก่อนหน้านั้นก็เป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดเล็กในวัฒนธรรมหริภุญชัย ราวพุทธศตวรรษที่ 18 กระทั่งถูกทิ้งร้างไปเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 23
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ วัดปู่เบี้ยเป็นโบราณสถานร้าง ชื่อของวัดปู่เบี้ยมาจากการที่ชาวบ้านเรียกตามลักษณะชายชราร่างเล็กที่อาศัยอยู่ภายในบริเวณโบราณสถานแห่งนี้ (คำว่า ปู่เบี้ย หมายถึง ปู่เตี้ย) มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21-22
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ มีอีกชื่อว่า วัดกู่คำ สร้างขึ้นในสมัยที่พญามังรายสถาปนาเมืองเวียงกุมกาม มีการบูรณะครั้งใหญ่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยหลวงโยนการวิจิตร คหบดีชาวมอญ ทำให้มีลักษณะเป็นแบบศิลปะพม่าดังปัจจุบัน
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ มีเรื่องเล่าท้องถิ่นว่ามีนางค่างตัวหนึ่งทำประโยชน์แก่พระราชามาก เมื่อนางค่างตายลงพระราชาจึงสร้างจึงสร้างวัดนี้ให้แก่นางค่างตัวนี้ และจากรูปแบบโบราณสถานสันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรม และโบราณวัตถุสำคัญที่นำมากำหนดอายุการสร้างคือ อิฐจารึกอักษรฝักขาม จึงสันนิษฐานได้ว่าวัดธาตุขาว น่าจะสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ วัดพระเจ้าองค์ดำเป็นโบราณสถานร้าง ชื่อของวัดมาจากชาวบ้านเรียก เนื่องจากมีการพบพระพุทธรูปสำริดที่ถูกไฟไหม้จนเป็นสีดำ คาดว่าสร้างขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 21
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เนินพญามังรายเป็นชื่อเรียกกันตั้งแต่โบราณสถานยังมีสภาพเป็นเนินดิน ที่ตั้งอยู่คู่กับเนินพระเจ้าองค์ดำ จากรูปแบบโบราณสถานสันนิษฐานว่ามีอายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 21
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ชื่อของวัดหัวหนองเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียก สันนิษฐานว่าอาจเนื่องมาจากวัดนี้ตั้งอยู่ใกล้กับหนองน้ำ ไม่ปรากฏประวัติการสร้าง แต่จากรูปแบบสถาปัตยกรรมสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20-21
ตั้งอยู่ที่บ้านช้างค้ำ ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ หรือภายในเมืองเวียงกุมกามใกล้กับกำแพงเวียงด้านทิศเหนือ มีเรื่องราวบันทึกอยู่ในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ว่า เมื่อ พ.ศ.2060 พระเมืองแก้วได้เสด็จมาสรงน้ำพระมหาพุทธพิมพ์ที่วัดเกาะกุมกาม และอัญเชิญพระพุทธรูปสำริดขึ้นประดิษฐาน ณ วัดกุมกาม
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โบราณสถานสำคัญประกอบด้วย เจดีย์ วิหาร แท่นบูชารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โบราณวัตถุสำคัญได้แก่ พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา พระพิมพ์ดินเผา (พระสิบสอง) กำหนดอายุได้ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เดิมในบริเวณโบราณสถานมีต้นไม้ที่ชาวบ้านเรียกว่า ไม้ซ้ง ขึ้นปกคลุมอยู่ จึงเป็นที่มาของชื่อโบราณสถาน คาดว่าน่าจะสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22
ต.หนองหอย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โบราณสถานประกอบด้วย วิหาร เจดีย์ แท่นบูชา กำแพงแก้ว และซุ้มประตู โบราณวัตถุสำคัญได้แก่ พระพุทธรูปแก้วสีเขียวปางมารวิชัย กำหนดอายุได้ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 21 – 22 และน่าจะมีการบูรณะเรื่อยมาจนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 23
ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ แต่เดิมโบราณสถานตั้งอยู่บนที่ดินของป้าด้อม ชาวบ้านจึงเรียกโบราณสถานตามชื่อเจ้าของที่ดินว่า วัดกู่ป้าด้อม สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ชาวบ้านได้ทำการขุดโบราณสถานนี้ พบพระพิมพ์และวัตถุทางศาสนาในบริเวณโบราณสถานเป็นจำนวนมาก จากหลักฐานที่ปรากฏทั้งรูปแบบโบราณสถานและอิฐจารึกอักษรฝักขาม สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เนื่องจากตั้งอยู่บนที่ดินของนายหลาน จึงเรียกชื่อตามเจ้าของที่ดิน โบราณสถานวัดกู่อ้ายหลาน ประกอบด้วย วิหาร เจดีย์ กำแพงแก้ว และซุ้มโขง สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19 – 21