ตั้งอยู่ที่บ้านเชียงเหียน ต.เขวา อ.เมืองมหาสารคาม ภายในเมืองโบราณบ้านเชียงเหียน สิมวัดโพธิ์ศรีเชียงเหียน เริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2467 ก่อสร้างเสร็จ พ.ศ.2476 มีความโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมท้องถิ่นผนวกกับเทคนิคการก่อสร้างที่แพร่หลายของช่างชาวเวียดนามในอีสาน ที่ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศส
แหล่งเรือจมเกาะมันนอก ตั้งอยู่ที่ ต.กร่ำ อ.แกลง จ.ระยอง ห่างจากเกาะมันนอกมาทางทิศใต้ประมาณ 4 ไมล์ทะเล หรือ 7.4 กิโลเมตร
ต.กระโทก อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือสมัยบาปวน โบราณสถานสำคัญคือปราสาท 2 หลัง และคูน้ำล้อมปราสาท
ต.บางพระ อ.เมืองตราด เจดีย์วัดชัยมงคลหรือวัดกลาง เป็นเจดีย์ร้าง ตั้งอยู่ที่ลานจอดรถของวัดกลาง ตามประวัติวัดกล่าวว่าวัดแห่งนี้ตั้งเมื่อปี 2325 เป็นเจดีย์ย่อมุม ซึ่งจากรูปแบบสถาปัตยกรรม สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง สภาพแหล่งโบราณคดีเป็นเพิงผาที่อยู่ด้านปลายทางทิศเหนือของเขาหญ้าระ พบเครื่องมือหินกะเทาะด้านเดียวแบบหัวบิเนียน และเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน กําหนดอายุได้ราว 10,000 – 6,000 ปี มาแล้ว อาจใช้เป็นจุดแวะพักระหว่างเดินทางของคนก่อนประวัติศาสตร์
ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง พบเครื่องมือหินและเศษภาชนะดินเผาที่แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาไม้แก้ว สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งถิ่นฐานชั่วคราวหรือเป็นที่พักชั่วคราวระหว่างเดินทางของมนุษย์ยุค่กอนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 4,000 – 2,000 ปีมาแล้ว และอาจถูกใช้เป็นจุดสังเกตในระหว่างการเดินทางด้วย
ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง สันนิษฐานว่าแหล่งโบราณคดีเขาหน้าเนื้อเป็นแหล่งที่พักชั่วคราวของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว 4,000-2,000 ปีมาแล้ว เพราะมีทำเลอยู่บริเวณช่องเขาสําหรับเดินทางระหว่างตอนในทวีปออกสู่ทะเล พบเครื่องมมือหิน เศษภาชนะดินเผาเคลือบน้ำดินสีแดงขัดมัน และเปลือกหอยกัน ที่น่าจะถูกนำมาเป็นอาหาร
ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติเจ้าไหม ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์บนเขาเจ้าไหม ได้แก่ ภาพเขียนสี เครื่องมื่อหินและเครื่องปั้นดินเผา สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในช่วง 4,000-2,000 ปีมาแล้ว
ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง แหล่งโบราณคดีอ่าวบุญคงพบหลักฐานทางโบราณคดี 2 ยุคสมัย คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ถูกใช้เป็นที่พักพิงชั่วคราวและมีการวาดภาพเขียนสี และยุคประวัติศาสตร์ช่วงพุทธศตวรรษที 16 – 19 ถูกใช้เป็นแหล่งฝังศพ
บริเวณเพิงผาเขียน เขาพนมดบ อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ พบร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ในอดีต 2 จุด คือ ภาพศิลปะถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งภาพเขียนสี และภาพสลัก
ต.เกาะตะเภา อ.บ้านตาก จ.ตาก เป็นโบราณสถานร้าง ในเมืองตากเก่า (บ้านตาก) ลักษณะที่ปรากฏปัจจุบันเป็นเจดีย์ 8 เหลี่ยม ด้านในกลวงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป แต่ปัจจุบันถูกขุดทำลายไปแล้ว สันนิษฐานว่าอยู่ในสมัยสุโขทัย-อยุธยา
ไม่ปรากฏชื่อวัดเจดีย์แดง (นอก) ในเอกสารตำนานและพงศาวดารใด ๆ แต่จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรม สันนิษฐานว่าเจดีย์องค์นี้น่าจะอยู่ในครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา
ต.คลองน้ำใส อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เป็นแหล่งอยู่อาศัยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-18 หลักฐานสำคัญได้แก่ เครื่องถ้วยเขมรจากแหล่งเตาบุรีรัมย์และเตาพนมกุเลน เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซ่งภาคใต้ แท่นหินบด หินบด คันฉ่องสำริด ขันสำริด กำไลสำริด ลูกกระพรวนสำริด ชิ้นส่วนสำริด ห่วงสำริด ก้อนตะกั่ว และชิ้นส่วนกระดิ่งสำริด เป็นต้น
ต.แม่ใส อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา เป็นโบราณสถานประเภทวัดร้าง ใน "กลุ่มโบราณสถานบ้านร่องไฮ" ที่ในอดีตเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20-21 ปัจจุบันตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา
ต.ท้ายช้าง (เทศบาลเมืองพังงา) อ.เมืองพังงา จ.พังงา เจดีย์เขาล้างบาตร์ ไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้าง ผู้ค้นพบคนแรกคือพระยาบริรักษ์ภูธร (แสง ณ นคร) หรือเจ้าคุณงา เจ้าเมืองพังงาคนแรก (เป็นเจ้าเมืองระหว่าง พ.ศ.2383-2404) ลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมซ้อนกันสามชั้น ประดับด้วยลายเครือเถา แกนกลางเป็นไม้แก่นยาวต่อเนื่องถึงยอดเจดีย์
ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เป็นแหล่งโบราณคดีที่เคยพบหลักฐานบริเวณเหมืองแร่โบราณ เช่น หินทุบเปลือกไม้ ขวานหินขัด ปัจจุบันเป็นที่ดินของเอกชน
ต.วังสะพุง (เทศบาลเมืองวังสะพุง) อ.วังสะพุง จ.เลย โนนหลักเมือง 1 เป็นหลักเมืองของอำเภอวังสะพุง ลักษณะของหลักเมืองเป็นเสมาสมัยทวารวดี
ต.บ้านใหม่ อ.เมืองปทุมธานี หลุมหลบภัยสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2486 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องด้วยทหารบกได้มาตั้งค่ายทหารสื่อสารที่วัดเทียนถวาย จังหวัดปทุมธานี จึงจำเป็นต้องสร้างบ้านพักและหลุมหลบภัยให้ในบริเวณป่าใกล้วัด
ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา วัดลุมพินีเป็นวัดราษฎร์สังกัดมหานิกาย โบราณสถานที่สำคัญภายในวัด คือ กุฏิหลังเก่า ซึ่งเป็นกุฏิไม้ทรงไทยพื้นถิ่น ตามประวัติกล่าวว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 2463 ในสมัยพระครูสุทัศนธรรมคุณ เป็นเจ้าอาวาส
ต.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ตามประวัติกล่าวว่าอุโบสถของวัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2479 เดิมชื่อ "วัดคงคา" ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2483 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดคงคาพิมุข" ได้รับการบูรณะเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2503 โบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถ และเจดีย์