ตั้งอยู่บริเวณริมคลองรอบกรุง ใกล้เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กรุงเทพฯ โดยมีแนวกำแพงเมืองต่อไปเป็นแนวตามถนนมหาไชย นับเป็น 1 ใน 14 ป้อม ทีี่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งสถาปนาพระนคร
เสาชิงช้า เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ตั้งอยู่ข้างวัดสุทัศนเทพวรารามฯ และโบสถ์พราหมณ์ ในปัจจุบันเสาชิงช้ามักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร
โรงพิมพ์คุรุสภา หรือ โรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช ตั้งอยู่ริมถนนพระสุเมรุ บางลำพู กรุงเทพฯ ปัจจุบันเป็น "พิพิธบางลำพู" ในอดีตเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญเนื่องจากตั้งอยู่ริมกำแพงพระนคร ข้างป้อมพระสุเมรุ ต่อมาเมื่อเป็นโรงพิมพ์ ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการผลิตเอกสารตำราการเรียนการสอนของกระทรวงธรรมการและคุรุสภา
เป็นคลองคูเมืองเดิมสมัยธนบุรี ตั้งอยู่ถนนอิรสภาพ บางกอกน้อย กรุงเทพฯ ปัจจุบันคลองมีสภาพตื้นเขิน หลังจากมีการขุดค้นได้มีการปูพื้นเพื่อแสดงสัญลักษณ์ของกำแพงเมืองกรุงธนบุรีเดิม บริเวณหน้าปากซอยอิสรภาพ 44
สถานีรถไฟธนบุรี หรือสถานีรถไฟบางกอกน้อย (เดิม) ปัจจุบันตั้งอยู่ในโรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ เคยเป็นสถานีต้นทางแห่งแรกของรถไฟสายใต้ ตัวสถานีรถไฟได้รับการออกแบบโดย ม.จ.โวฒยากร วรวรรณ สร้างแล้วเสร็จ พ.ศ. 2493 แต่ก่อนหน้าเป็นสถานีรถไฟ พื้นที่นี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของวังหลังในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
วัพิชยญาติการาม หรือวัดพิชัยญาติ เดิมเป็นวัดร้าง ก่อนที่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) จะสถาปนาวัดขึ้นใหม่ใน พ.ศ.2384 ทั้งวัด แล้วน้อมเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของตระกูลบุนนาค
ป้อมป้องปัจจามิตร ปัจจุบันอยู่บริเวณบ้านพักข้าราชการกรมเจ้าท่า ใกล้กับสำนักงานเขตคลองสาน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นป้อมสำคัญที่ใช้ป้องกันข้าศึก ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันตกริมปากคลองสาน ตรงข้ามกับป้อมปิดปัจจนึกบริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษม
วังบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ปัจจุบันเป็นที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย เคยเป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ต้นราชสกุลบริพัตร และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระมารดา วังบางขุนพรหมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นวังของเจ้านายชั้นเจ้าฟ้าใหญ่โตและโอ่อ่ามากวังหนึ่ง
บ้านพิบูลธรรม หรือบ้านนนที ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่กระทรวงพลังงาน เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ยศเส กรุงเทพฯ เป้นบ้านของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี เริ่มสร้างขึ้นราวปี 2440 สถาปัตยกรรมของอาคารเป็นแบบตะวันตก โดดเด่นด้วยการตกแต่งภายในอาคารด้วยไม้แกะสลักประกอบภาพจิตรกรรมที่งดงามทั้งลวดลายแบบตะวันตกและภาพจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอนทศกัณฐ์ลักนางสีดา ภาพนางเมขลาและรามสูร
อาสนวิหารอัสสัมชัญ ตั้งอยู่เขตบางรัก กรุงเทพฯ เป็นอาสนวิหารประจำมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ หลังปัจจุบันนี้สร้างขึ้นเมื่อปลายรัชกาลที่ 5 เป็นที่พำนักของบรรดามุขนายกผู้เป็นประมุขมิสซังสยามในอดีต เป็นศูนย์กลางของชุมชนคริสต์ศาสนิกชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงในย่านบางรัก นับเป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่สวยที่สุดในไทย
อาคารศุลกสถาน ตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 36 กรุงเทพฯ สร้างขึ้นตั้งแต่ราวปี 2529 สมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นอาคารสำคัญที่แสดงถึงประวัติการปฏิรูประบบเศรษฐกิจการค้าของไทย ซึ่งเป็นผลจากการทำสนธิสัญญาบาวริงสมัยรัชกาลที่ 4 ปัจจุบันอาคารศุลกสถานกำลังได้รับการปรับปรุงเป็นโรงแรมขนาดใหญ่
พื้นที่ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ แต่เดิมเคยเป็นของคุณหญิงเลื่อน ผู้เป็นภรรยาของหลวงฤทธินายเวร ปัจจุบันภายในชุมชนเลื่อนฤทธิ์ ถนนเยาวราช ย่านสำเพ็ง กรุงเทพฯ มีอาคารที่เป็นตึกแถวเก่าที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี 2555 ชาวชุมชนเลื่อนฤทธิ์ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นบริษัท ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ จำกัด เพื่อดำเนินการอนุรักษ์อาคารและพื้นที่ของชุมชน
บ้านตาดทอง ต.ตาดทอง อ.เมืองยโสธร มีตำนานการสร้างที่ผูกโยงกับตำนานอุรังคธาตุ และภายหลังก็ถูกผูกโยงเข้ากับนิทานพื้นบ้านเรื่อง ลูกฆ่าแม่ หรือ ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบล้านช้าง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24 สมัยอยุธยาตอนปลาย-ธนบุรี
ตั้งอยู่บ้านหมี่พัฒนา ต.เขวา อ.เมืองมหาสารคาม ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีเป็นก้อนศิลาแลงกระจัดจายในพื้นที่ ชาวบ้านจึงได้รวบรวมมาเรียงก่อขึ้นเป็นกู่ และได้กลายเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่ สันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณนี้ในอดีตอาจเป็นศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมร ร่วมสมัยกับโบราณสถานใกล้เคียงคือปรางค์กู่บ้านเขวาและกู่น้อย
ตั้งอยู่ ต.เขวา อ.เมืองมหาสารคาม กู่บ้านเขวาเป็นหนึ่งในศาสนสถานประจำสถานพยาบาล หรืออโรคยศาลา ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งราชอาณาจักรเขมร ในพุทธศตวรรษที่ 18 เนื่องในศรัทธาความเชื่อมตามหลักของศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน
ตั้งอยู่ที่บ้านเชียงเหียน ต.เขวา อ.เมืองมหาสารคาม ภายในเมืองโบราณบ้านเชียงเหียน สิมวัดโพธิ์ศรีเชียงเหียน เริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2467 ก่อสร้างเสร็จ พ.ศ.2476 มีความโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมท้องถิ่นผนวกกับเทคนิคการก่อสร้างที่แพร่หลายของช่างชาวเวียดนามในอีสาน ที่ได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศส
ต.ท่าจีน อ.เมืองสมุทรสาคร ตามประวัติกล่าวว่า วัดใหญ่จอมปราสาท สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ.2091-2111) ในอดีตบริเวณด้านหน้าวัดเป็นเมืองท่าตลาดริมน้ำ ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าชาวจีน จึงได้เรียกชุมชนบริเวณนี้ว่า “บ้านท่าจีน”
บ้านตระกูลคีรีรัตน์ตั้งอยู่ริม ถ.ตรัง-ประเหลียน ต.ทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง เป็นบ้านของนายกีวด หรือ พันวด ชาวจีนฮกเกี้ยนโพ้นทะเลที่มาตั้งรกรากและค้าขายอยู่ในจังหวัดตรัง สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2490 รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคม ผสมผสานกับหลังคาเรือนไทยมุสลิม
วิหารคริสตจักรตรัง หรือวิหารทับเที่ยง ตั้งอยู่ในตัวเมืองตรัง สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2458 เป็นหลักฐานสำคัญแสดงถึงการเข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในจังหวัดตรัง สมัยรัชกาลที่ 5-6 โดยเป็นส่วนหนึ่งของคณะเพรสไบทีเรียนสยาม
ตั้งอยู่ ต.ละมอ อ.นาโยง จ.ตรัง วัดมงคลสถานสร้างขึ้นเมื่อปี 2449 ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ภายในวัดมีโบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถ ที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2480 ลักษณะทางอาคารแสดงถึงอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของท้องถิ่นภาคใต้